Ratchaphruek Housepital (Hospital)

Ratchaphruek Housepital (Hospital)

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

SILVER AWARD

รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2563

ที่ตั้ง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

ผู้ครอบครอง Ratchaphruek Hospital

ปีที่สร้าง พุทธศักราช 2533-2535 (ค.ศ.2006-2008)

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2563

ประวัติเพิ่มเติม ที่เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

โดยรวมอาคารที่น่าชื่นชมหลังนี้เป็นโรงพยาบาลร่วมสมัยที่เข้ากันสนิทกับความเป็นท้องถิ่นและให้ความสำคัญกับความเป็นภูมิภาค สิ่งที่เห็นได้ชัดคือความพยายามที่จะสร้างความสมดุลระหว่างลักษณะการใช้สอยที่ง่ายและเป็นกันเองของคนไข้หรือผู้ใช้อาคารและความต้องการทางด้านเทคนิคอันสลับซับซ้อนของโรงพยาบาลสมัยใหม่ ซึ่งต้องป้องกันการติดเชื้ออันเป็นความสำคัญสูงสุด ในเชิงการออกแบบ งานนี้เป็นการหาสมดุลระหว่างพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่ควบคุมและปรับอากาศและยังต้องแสดงออกซึ่งความเป็นสถาปัตยกรรมภูมิภาคด้วย ในภาวะของการระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลนี้น่าจะสามารถเป็นต้นแบบของความพยายามตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวด้วยผังพื้นที่ค่อนข้างหลวมและมีพื้นที่เปิดโล่งระบายอากาศได้มากพอสมควร โดยคงพื้นที่ปิดเพื่อปรับอากาศเท่าที่จำเป็น

ในแง่ของรูปทรง การออกแบบมวลขนาดใหญ่ของอาคารโรงพยาบาลนี้ให้มีลักษณะของบ้านพักอาศัยทำให้เกิดก้อนหลังคาจั่วขนาดใหญ่มากวางทับอยู่บนยอดอาคาร เกิดความรู้สึกหนักอึ้งแทนที่จะเบาแบบอาคารบ้านพักอาศัย อีกทั้งรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของงานส่วนนี้ก็อยู่ไกลตาจนไม่สามารถที่จะมองเห็นรับรู้ได้ง่ายจากผู้ที่สัญจรผ่านไปมา

All in all, a laudable project of contemporary hospital dovetailed with topicality and critical regionalism. Apparent in the design is the attempt to strike a balance between user friendliness and technical requirements of a modern hospital whereby infectious control is of prime importance, between a/c spaces and non a/c areas, and between modern efficiency and critical regionalism. Given the outbreak of COVID-19, this hospital, with loose fitted plan and pervasive non a/c areas, seems to be a prototypical response to his serious threat (luckily the threat was kept under control,

Khon Kaen was pretty safe). Formally, the attempt to domesticate the building with huge gable roof is too heavy handed since a lot of fine details are too far to be perceived meaningfully from where most people move about.