Rabindhorn : Arsomsilp Community and Environment Architect Office (Office)

Rabindhorn : Arsomsilp Community and Environment Architect Office (Office)

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

GOLD AWARD

รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2563

ที่ตั้ง กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

ผู้ครอบครอง Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

ปีที่สร้าง พุทธศักราช 2560-2562 (ค.ศ.2017-2019)

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2563

ประวัติเพิ่มเติม ที่เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาคารรพินทรเป็นอาคารสำนักงานซึ่งเกิดขึ้นจากการปรับการใช้สอย (adaptive reuse) อาคารยิมเนเซียมเก่าของโรงเรียนรุ่งอรุณซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การออกแบบอาคารนี้ กล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นในการให้กำเนิดชีวิตใหม่แก่โครงอาคารเก่าที่คล้ายจะหมดประโยชน์ใช้สอยตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิม

ในการนี้ สถาปนิกเลือกวิธีการคงโครงสร้างหลังคาเดิม แล้วสอดแทรกพื้นที่ใช้สอยใหม่คือสำนักงานเข้าไปในที่ว่างโล่งสูงของอาคารเดิม โดยปรับความสูงของโครงสร้างตามความต้องการของโปรแกรม เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจยิ่ง คือทั้งที่เป็นอาคารที่มีมวลขนาดใหญ่ แต่ก็ยังสามารถรักษาความโล่งโปร่งของที่ว่างไว้ด้วยช่องแสงขนาดใหญ่ตลอดแนวอาคาร นอกจากนี้ การจัดพื้นที่ทำงานที่มีผนังโปร่งมองทะลุถึงกันเชื่อมต่อกันด้วยระบบระเบียงเปิดคล้ายสะพานเชื่อม ก็ทำให้พื้นที่ภายในอาคารมีลักษณะเชื่อมต่อกันได้โดยการมองเห็นซึ่งกันและกัน ให้ความรู้สึกคล้ายเป็น co-working space สร้างเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมต่างๆ ซึ่งตอบสนองธรรมชาติการทำงานของอาศรมศิลป์เองเป็นอย่างดี

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของที่ว่างภายในอาคารรพินทรก็คือการสร้างสมดุลที่ลงตัวระหว่างความเรียบง่ายของภาษาสถาปัตยกรรมกับความซับซ้อนของที่ว่าง ระหว่างความโปร่งโล่งสง่างามในภาพรวมกับพื้นที่มุมเล็กมุมน้อยที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองและเป็นส่วนตัว ระหว่างบรรยากาศการทำงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพกับร่องรอยของภาษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งสะท้อนทั้งปรัชญาการทำงานของสถาปนิกเองและบริบทที่ตั้งของอาคาร นอกจากนี้การใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศธรรมชาติในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดก็ยังทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่มีสุนทรียภาพแบบเขตร้อนชื้นได้อย่างดียิ่ง

A modern office which was emerging from the old school gymnasium a la adaptive reuse. This project stands out as a good example of turning a new leaf for a tired and worn out shell. In addition, language of vernacular architecture was also inserted to resonate its suburban setting.

Architect‘s solution is to retain an original roof structure and insert a loose-knitted working units within the volume beneath. The result is an attractive system of connecting spaces via walking corridor and bridges, lending itself to an inspiring incidental co-working space that is so conducive to collaborative spirit of all working there.

This creative arrangement reflects a balance between a rather simple architectural language and a complex interlocking spaces of different shapes and sizes. Also a balance between voluminous spaces and small corners with friendly and private atmosphere, a balance between efficient modern working space and a vernacular type of architecture which is an architect approach and which blends neatly with the site. The use of vast opening leads to sufficient natural light and ventilation— leading to a romantic feeling of working in the tropical ambience.