ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว
รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น
ประเภทบุคคล
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2561
ประวัติเพิ่มเติม
ประวัติการศึกษา
1. ปริญญาโท สาขา Heritage Preservation, Georgia State University ประเทศสหรัฐอเมริกา พุทธศักราช 2551 2. ปริญญาโท สาขาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2544 3. ปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2540
ประวัติการทำงาน
พุทธศักราช 2555 – ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง พุทธศักราช 2553 – 2556 เลขาธิการ สมาคมอิโคโมสไทย พุทธศักราช 2553 – 2554 อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง พุทธศักราช 2548 – 2550 สถาปนิก บริษัท Greenbergfarrow เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา พุทธศักราช 2544 – 2548 สถาปนิก บริษัท Peter Drey + Company เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา พุทธศักราช 2540 – 2541 สถาปนิก บริษัทภูมิวุฒิจำกัด กรุงเทพมหานคร
รางวัล
1. โล่เกียรติยศเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียติคุณบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้านบริการสังคม พุทธศักราช 2559 2. รางวัล KMITL Award ประจำพุทธศักราช 2558 ประเภท รางวัลที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม (Social Impact Awards) โดยกองทุนวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3. Preservation Achievement Award from Historic Preservation Division, Atlanta, Georgia, USA พุทธศักราช 2552
หนังสือ
1. ปริญญา ชูแก้ว และรักพล สาระนาค. 2559. 100 ปี สถานีกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฟโต้สแควร์ แอนด์ กราฟฟิค จำกัด 2. ปริญญา ชูแก้ว. 2559. คู่มือการดูแลรักษาศาสนสถาน. ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 3. ปริญญา ชูแก้ว. 2557. การอนุรักษ์ชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของไทย: ประสบการณ์จากการทำงานภาคสนาม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พลัสเพรส จำกัด 4. ปริญญา ชูแก้ว. 2557. เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พลัสเพรส จำกัด
ผลงานบูรณะโบราณสถาน
1. พระนครคีรี, 2526 – 2532 2. พระราชวังรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน), 2529 – 2530 3. วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529 – ปัจจุบัน 4. หอพิสัยศัลลักษณ์ พระราชวังจันทรเกษม, 2534 5. ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์, 2535 6. สถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบในเขตพุทธาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, 2532 – 2540 7. ตำหนักสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (ตำหนักวาสุกรี), 2536 – 2537
บทความทางวิชาการ
1. Parinya Chukaew and Chotewit Pongsermpol. 2013. Participatory Heritage Buildings Conservation Guidelines Case Study of Buildings on Wanit Bamrung Road, Sawi District, Chumphon Province. Proceeding of ICOMOS Thailand International Conference 2013 “Asian Forgotten Heriatge”. pp. 190 – 203 2. ปริญญา ชูแก้ว. 2557. การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์บริเวณชุมชนตลาดเก่าท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 11 กันยายน 2557 – ธันวาคม 2557. หน้า 152 – 175 3. ปริญญา ชูแก้ว. 2554. การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 8 กันยายน 2554 – สิงหาคม 2555. หน้า 178 – 197
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของย่านชุมชนเก่าและอาคารสถานีรถไฟร่วมกับเครือข่ายการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ นักวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในหลายลักษณะสำหรับประชาชน นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน โดยฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ในโครงการต่าง ๆ นั้นสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับกรมศิลปากรในการพิจารณาขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เจ้าของอาคารใช้เป็นข้อมูลในการปกป้องรักษาอาคารของตนจากการถูกทำลายจากโครงการพัฒนาในอนาคต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนปรับปรุงย่านประวัติศาสตร์และจัดทำแนวทางการพัฒนาอาคารหรือการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นพิเศษเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของอาคารที่มีคุณค่าร่วมกันก็จะนำมาซึ่งการหาหนทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
สำหรับหนังสือ และบทความทางวิชาการ สามารถใช้อ้างอิงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (Historic Preservation) รูปแบบสถาปัตยกรรม การตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิต ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของย่านชุมชนเก่าและอาคารสถานีรถไฟ ส่วนการจัดนิทรรศการ “ย่านเก่า…เล่าเรื่อง” การจัดทำโปสการ์ดย่านชุมชนเก่าและอาคารสถานีรถไฟ การบรรยายพิเศษ และการให้สัมภาษณ์กับสื่อสารมวลชนนั้นถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมไทยซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการเริ่มต้นรักษามรดกทางวัฒนธรรม และสามารถเก็บรักษา ฟื้นฟู และต่อยอดเพื่อให้มรดกเหล่านี้กลับมามีชีวิต เพื่อแสดงความเป็นชาติ คุณค่า และเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างเด่นชัด