อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

บ้านพระอาทิตย์

บ้านพระอาทิตย์

บ้านพระอาทิตย์ ที่ตั้ง 102/1 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -

ผู้ครอบครอง บริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน)

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2470

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2542

ประวัติ

บ้านพระอาทิตย์เป็นสถาปัตยกรรมแนวอาร์ตส์แอนด์คราฟท์ส (Arts and Crafts Movement คือแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เป็นอาคาร 2 ชั้น ทางปีกขวาเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น หลังคาหอคอยทรงปิรามิด ตกแต่งอาคารด้วยปูนปั้นและไม้แกะสลัก โดยภาพรวมมีความสง่างาม ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่หรูหราแพรวพราว ซึ่งอาจเป็นด้วยการก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่เริ่มมีบทบาทในประเทศไทย

เดิมบ้านพระอาทิตย์เป็นวังของพระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ เสนาบดีฝ่ายวังหน้าในรัชกาลที่ 2 ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นที่กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช หลังจากที่พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ ก็ได้เปลี่ยนชื่อวังนี้ว่า “บ้านถนนพระอาทิตย์” ต่อมาในสมัยหลังจึงเรียกกันว่า “บ้านพระอาทิตย์” ซึ่งได้สืบทอดมาถึงทายาทของท่าน คือเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวังในรัชกาลที่ 7

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์เป็นผู้มีฝีมือด้านการช่าง ได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังในปี พ.ศ. 2470 ท่านสร้างบ้านใหม่ขึ้นแทนหลังเดิม ซึ่งก็คือบ้านพระอาทิตย์ในทุกวันนี้ หลังจากที่ท่านถึงแก่อนิจกรรม ทายาทได้ให้สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน (เกอเธ่) เช้าบ้านในช่วงปี พ.ศ. 2505-2530 ต่อมาจึงขายให้เอกชน ซึ่งได้ใช้เป็นที่ทำการสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ตัวอาคารมีการปรับปรุงภายในเป็นสำนักงานเมื่อพ.ศ. 2537 และมีการก่อสร้างอาคารใหม่ในบริเวณขึ้นอีก 3 หลัง ซึ่งได้รับการออกแบบให้กลมกลืนกับอาคารเดิม และมีทางเดินเชื่อมต่อกัน

 

 Ban Phra Athit

Location 102/1 Phra Athit Road, Khet Phra Nakhon, Bangkok

Architect/Designer Unknown

Proprietor The Manager Plc.

Date of Construction 1927 AD

Conservation Awarded 1999 AD

History

Ban Phra Athit, architecture of Arts and Crafts style is a 2-storey building with a pyramid-dome tower at the left wing. It is decorated with stuccos and woodcarvings, however, the overall appearance is rather simple, moderately decorated, which could have resulted from the Modern Architecture concept that began in Thailand during the reign of King Rama VII, the time when it was built.

The house was originally a prince’s palace in King Rama II’s period. It was inherited to Chaophraya Woraphongphipat, an official in King Rama V’s reign who was promoted as Minister of the Royal Household in 1927. He then had a new house built to replace the pld one, which is the house as appear nowadays.

After Chaophraya Woraphongphipat passed away, the house as appear let to Goethe (German Institute of Culture) during 1962 – 1987. Then it was sold to the Manager Plc. Some new buildings were added to the compound, however, they are designed to harmonize with the historic house, which is now conserved and used as an office.