อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

วิหารวัดจอมสวรรค์

วิหารวัดจอมสวรรค์

ที่ตั้ง ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผู้ครอบครอง วัดจอมสวรรค์

ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 5

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2553

ประวัติ

วัดจอมสวรรค์ หรือ วัดจองเหนือ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมทีนั้น เป็นวัดร้างในป่านอกตัวเมืองแพร่ออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร ในสมัยของเจ้าหลวงพิมพิสาร (ชาวแพร่เรียกว่า เจ้าหลวงขาเค หมายถึง ขาเก ครองเมืองแพร่ ช่วงปี พ.ศ. 2415 – 2431) พ่อเฒ่ากันตี และนายฮ้อยคำมาก สองพ่อค้าชาวไทยใหญ่ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งวัดจอมสวรรค์แล้วเห็นสภาพวัดร้างอยู่ ซึ่งเป็นศิลปะแบบของตนจึงเกิดความความศรัทธารวบรวมชาวบ้านโดยมีจองนันตา เชอร์แมนของบริษัทอิสต์เอเชียติค และมิสเตอร์ เอช สเลด (H. A. SLADE) ฝรั่งชาวอังกฤษที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ได้ช่วยจัดหาไม้สักมาบูรณะวัดอีกแรงหนึ่ง และชักชวนชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาในเมืองแพร่อพยพมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณเดียวกันรอบๆ วัดมากขึ้น เวลาผ่านไปก็มีการขยายชุมชนชาวไทยใหญ่ออกไปทางทิศใต้อีกจนมีการสร้างวัดไทยใหญ่ขึ้นอีก 2 วัด บ้างก็แต่งงานอยู่กินปะปนกับคนพื้นเมืองชาวแพร่ทั่วไป

วิหาร วัดจอมสวรรค์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพม่า ตัวอาคารเป็นไม้สักใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ในหลังเดียวกันคล้ายเรือนหมู่ มีบันไดขึ้นลงด้านหน้าทั้งสองข้าง เป็นบันไดก่ออิฐถือปูน บัวหัวเสาบันไดมีลวดลายปูนปั้นเครือเถาแบบพม่าประดับตามกรอบขอบบัวหัวเสาโดยรอบ ส่วนท้องไม้ฐานปูนของอาคารก็มีลายกรอบโค้งแบบพุกามประดับด้วยลายเครือเถา มุขของบันไดแต่ละด้านเป็นอาคารทรงปราสาทมีหลังคาสูงซ้อนชั้น 6 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไป ปลายยอดสุดของอาคารมีช่อตุง (ฉัตรแบบพม่า) ประดับส่วนยอดทั้งสองด้าน ส่วนลายท้องไม้ของยอดปราสาทแต่ละชั้นโดยรอบมีลวดลายของกรอบไม้ย่อมุมสิบสอง และดอกประจำยามประดับตรงกลางอันมีความหมายถึง จักรวาล ในพุทธศาสนา ด้านหน้าของโบสถ์ ภายนอกตกแต่งด้วยการฉลุไม้ประดับกระจกสี มีหน้าต่างรูปวงกลมขนาดเล็ก 2 ช่อง ภายในอาคารมีการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสี (แก้วอังวะ) อย่างงดงาม ภายในวิหารประดิษฐานหลวงพ่อสาน พระพุทธรูปงาช้างซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า อาคารส่วนหนึ่งได้จัดแสดงศิลปวัตถุ เช่น คัมภีร์งาช้างหรือคัมภีร์ปฏิโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบางๆ เขียนลงรักแดง จารึกด้วยอักษรพม่า บุษบกลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน พระพุทธรูปที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วลงรักปิดทองตามแบบเชิงช่างของชาวไทยใหญ่ ดอกไม้หินปืนคาบศิลา เป็นต้น

นอกจากนี้ในบริเวณของวัดจอมสวรรค์ ด้านขวาของวิหารมีเจดีย์สถูปแบบพม่าตั้งอยู่ด้วย ต่างจากคติการสร้างเจดีย์ของคนเมืองแพร่ที่มักสร้างเจดีย์อยู่หลังโบสถ์ โดยเชื่อว่าเมื่อมานมัสการพระประธานก็ได้นมัสการเจดีย์ด้วย เนื่องจากตัววิหารและมุขบันไดมีสภาพทรุดโทรมจึงมีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2551 อีกครั้ง มีการเปลี่ยนไม้แป้นเกล็ดหลังคา ทาสีรักษาสภาพเนื้อไม้อาคาร เปลี่ยนเอาไม้ส่วนที่ชำรุดเสียหายออก ส่วนประดับกระจกแก้วอังวะก็ได้แก้ไขปรับมาใช้วัสดุเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดช่างที่มีความรู้แบบพม่าได้ยาก นอกจากนี้ส่วนมุขหลังคาได้แก้ไขจากวัสดุเดิมให้เป็นวัสดุที่มีความคงทนมากกว่าเดิม คงเหลือเพียงแต่เจดีย์สถูปด้านขวาของวิหารและกำแพงวัดที่ยังไม่ได้รับการบูรณะ

Vihara Wat Chomsawan

Location Yantrakitkoson Road, Tambon Nai Wiang, Amphoe Mueang, Phrae Province

Proprietor Wat Chomsawan

Date of Construction During the reign of King Rama V

Conservation Awarded 2010

History

Wat Chom Sawan or Wat Chong Nuea was constructed while Chao Luang Pimpisan (Chao Luang Kha-Ke) ruled Phrae during 1872-1888. The temple had previously beenabandoned in a forest, away from Phrae city to the East, before two Tai Yai merchants, Mr. Kanti and Mr. Khammak, migrated into the area and accidentally found the temple. They impressively realized its Tai Yai style; hence they gathered people from the village to help in the restoration. Besides, a foreigner from East Asiatic Company and Mr. H. A. Slade, an English settler who ran a lumber business in Thailand, have arranged for teak to be used in the renovation. A number of Tai Yai immigrants subsequently moved into the area thus the community has been expanded to the South and two more Tai Yai temples were constructed.

Registered as a historic place on 14th October 1980, Wat Chom Sawan features Burmese architecture. The temple was made of teak and all parts such as Vihara and monks’ cells have been included in one building. Its interiors demonstrate the exquisite skill in teak wood carving and were adorned with stained glass on both ceilings and posts. Inside of Vihara enshrines a statue of Luang Pho San and another Buddha image made of ivory in Burmese style. Furthermore, one part of the building exhibits various artifacts such as ivory scripture slabs with Burmese scripts, an exquisite-patterned movable throne, a marble Buddha image, Tai Yai’s gilded Buddha image made of woven bamboos, stone flowers, and muskets.