อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

วิหารวัดบ้านก่อ

 วิหารวัดบ้านก่อ

 ที่ตั้งเลขที่ 55 หมู่ 6 ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

 ผู้ครอบครอง วัดบ้านก่อ

 ปีที่สร้าง พ.ศ. 2477

 ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551

ประวัติ

วิหารวัดบ้านก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2477 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2479 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน โครงสร้างเครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยแป้นเกล็ด ซึ่งไม่พบวิหารในลักษณะนี้มากนัก นอกจากนั้นบนฝาผนังภายในรอบวิหาร รวมถึงด้านหน้า ปรากฏภาพจิตรกรรมเป็นนิทานเรื่องเวสสันดรชาดก ที่มีรูปลักษณ์ร่วมสมัยเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังที่ดูเหมือนจะเป็นสกุลช่างพื้นบ้านลำปางกลุ่มใหม่ ที่ยังไม่เคยมีการกล่าวถึงมากนัก มีภาพแรกมากมายที่เล่าเรื่องราวในอดีตของชุมชน อีกทั้งยังสามารถสะท้อนสังคมความคิดความเชื่อ เช่น ตรงฝาผนังด้านในข้างมีการวาดภาพคนทำชั่วที่ต้องตกกระทะทองแดงในนรก แต่นายนิรยบาล ผู้ควบคุมกลับมีใบหน้าละม้ายคล้ายพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากนั้น ยังมีรูปนางงามที่ทำผมทรงกระบัง สวมรองเท้าส้นตึก กางเกงขาบาน อันเป็นแฟชั่นเมื่อราว 40 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีภาพเหมือนของพระภิกษุ สามเณร และคนที่มาเยือนวัด 

 เมื่อวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมลง จึงได้เกิดโครงการการอนุรักษ์วิหารและจิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านก่อขึ้น โดยความร่วมมือระหว่าง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา โดยมีอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ เป็นประธานโครงการ โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยทั้งนี้เพราะได้เล็งเห็นความสำคัญของมรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพื้นบ้านของภาคเหนือเป็นสำคัญ

 Vihara of Wat Ban Kaut

 Location 55 Mu 6, Tambon Wang Sai Kum, Amphoe Mueang Wang Nuerg, Lampang Province

Date of Construction 1934 

 Conservation Awarded 2008

History

The Vihara (The Assenbly Hall) of Wat Ban Kau was built in 1934 and completed in 1936. It is built as a brick masonry structure with wooden roof top and traditional wooden roof tiles (Pan Kled). This style of architectural is extremely rare. The interior wall of Vihara is decorated with mural paintings depicting the Vessantara Jataka story (the tale of the last rebirth of the Bodhisattva). The painting style is contemporary with the 70 years ago art style. It seems these beautiful paintings were created by local Lampang crafts. This Lampang crafts, which has not been studied so much, expresses the community in the past as well as their society and their beliefs. Such as the painting of wicked men that died and were going to hell on the side interior wall, but the guardian of the hell looks like King Chulalongkorn (King Rama V). Another example is a beauty queen wearing dress and hair like in the fashion of the 70’s or the portraits of monks, novices and people visiting the temple. 

 When Vihara was getting dilapidated, Vihara and the wall painting of Wat Ban Kau conservation project had been carried out by cooperation between Faculty of Fine Arts of Chiang Mai University and NaresuanUniversity. Professor Vithi Phanichpan was director of the project. The project received a donation from The American Ambassador of Thailand because the importance of northern traditional architectures and arts should be supported.