อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

พระวิหารคริสตจักรที่ 1 สำเหร่

พระวิหารคริสตจักรที่ 1 สำเหร่

ที่ตั้ง เลขที่ 37 ซอยเจริญนคร 59 ถนนเจริญนคร แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 

ผู้ครอบครอง คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ 

ปีที่สร้าง พ.ศ.2453 

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2547 

ประวัติ 

คริสตจักรที่ 1 เดิมอยู่หลังวัดอรุณราชวราราม เป็นคริสตจักรแห่งแรกของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2383 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในครั้งนั้นยังไม่มีที่ตั้งคริสตจักรเป็นของตนเอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้อยู่รวมกับชาวต่างชาติอื่นๆ ที่กุฎีจีน ต่อมา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2392 มิชชันนารี 5 ท่าน ได้แก่ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน และภริยา ศาสนาจารย์ สตีเฟน บุช และภริยา และศาสนาจารย์นายแพทย์ ซามูเอล เรย์โนลด์ เฮาส์ได้ร่วมกันตั้งคริสตจักรขึ้น ชื่อว่า คริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1กรุงเทพ มีหมอแมตตูนเป็นศิษยาภิบาลแต่ยังไม่ได้สร้างสถานที่นมัสการโดยเฉพาะ ยังคงใช้บ้านพักของมิชชันนารีเป็นสถานที่นมัสการต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ได้ย้ายบ้านพักมิชชันนารีมาที่สำเหร่ และได้สร้างพระวิหารถาวรขึ้นในปี พ.ศ.2403 โดยใช้เงินบริจาคจากพ่อค้า กะลาสีเรือ มิชชันนารีชาวต่างชาติ และเงินสนับสนุนบางส่วนจากสหรัฐอเมริกา การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2405 ระยะเวลาที่ค่อนข้างล่าช้าดังกล่าวเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่อเมริกาในช่วงนั้น เมื่อพระวิหารเสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้มีพิธีมอบถวายในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2405 ต่อมาจำนวนผู้นมัสการที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พระวิหารหลังเดิมแออัดไม่เพียงพอต่อการใช้สอย จึงมีการรื้อถอนพระวิหารเดิมและก่อสร้างพระวิหารใหม่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างเดิมในปี พ.ศ.2453ซึ่งยังคงใช้นมัสการพระเจ้ามาจนปัจจุบัน ส่วนหอระฆังที่อยู่เคียงกัน สร้างในปี พ.ศ. 2455 มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระวิหาร 

พระวิหาร คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ เป็นอาคารชั้นเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าหาแม่น้ำเจ้าพระยา มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ช่วงเสา ยาว 6 ช่วงเสา โครงสร้างก่ออิฐถือปูนเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก พื้นหินอ่อน ด้านหน้าเว้นช่องเสาตอนบนทำเป็นวงโค้ง 3 วง เป็นระเบียงทางเข้า ประดับด้วยคิ้วและลวดบัวปูนปั้นลายอุบะ เหนือบานประตูหน้าต่างประดับกระจกสีกลางหน้าบันประดับด้วยปูนปั้นรูปดอกห้ากลีบขนาดใหญ่ในวงกลม และมีดอกสี่กลีบมีไส้ในวงกลมขนาดเล็กขนาบ 2 ข้าง หลังคาเป็นจั่วโครงไม้มุงกระเบื้องว่าว ส่วนหอระฆังเป็นหอสูง ผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการซ่อมแซมบำรุงรักษาพระวิหารมาด้วยเงินบริจาคจากคริสตชนและผู้มีจิตศรัทธาทั้งในชุมชนใกล้คริสตจักรและที่อื่นๆ การอนุรักษ์ครั้งล่าสุดได้มีการแก้ไขลวดลายของพระวิหารและหอระฆังในรายละเอียดและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอิฐจากเดิมที่เป็นสีขาว 

The 1st Presbyterian Church, Samre 

Location 37, Soi Charoennakhon 59, Charoennakhon Road, Khwaeng Samre, Khet Thonburi, Bangkok 

Proprietor The 1st Presbyterian Church 

Date of Construction 1910  

Conservation Awarded 2004 

History 

The 1st Presbyterian Church at Samre is the first church of the American Presbyterian missionaries who came to propagate the religion in 1840, during the reign of King Rama III. At that time, the missionaries did not have their own church. The King then allowed them to live with other foreigners at Kudi Chin, behind Wat Arunratchawararam (Temple of Dawn). On 31st August 1849, five missionaries namely Prof. Stephen Mattoon and his wife, Prof. Stephen Bush and his wife, and Prof. Dr. Samuel Reynolds House collaborated inestablishing a church called “the 1st Presbyterian Church, Bangkok”, having Dr. Mattoonpositioned as a pastor. However, there was no specific building for religious activities. The missionaries’ residence then served as a place for religious functions. 

In 1857, the missionary house was moved to Samre and a new church wasconstructed in 1860 by contributions from merchants, sailors, foreign missionaries and government of the United States. The construction was completed in 1862, with certain delay due to American Civil War. Since then, the 1st Presbyterian Church, Samre, became a centre for the mission of Presbyterians whose number has increased until exceeding the capacity of the church. Therefore, a new building has been replaced in 1910 and its architectural features mainly followed the old one. The church has been constantly restored with supports from Christians and general donors both within Samre community and from other areas.