อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว

ที่ตั้ง เลขที่ 28 ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ เอี๋ยว หงาเอียน

ผู้ครอบครอง มูลนิธิกุศลสงเคราะห์จังหวัดภูเก็ต (ล็อกเซี่ยนก๊ก)

ปีที่สร้าง พ.ศ.2477

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551

ประวัติ

พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวเดิมเป็นศาลเจ้า รวมทั้งเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนชั้นสูงชื่อ ฮั่วบุ่น ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ.2489 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนภูเกตจุงหัว และในปี พ.ศ.2491 ได้เปลี่ยนมาเป็น โรงเรียน ภูเก็ตไทยหัว จนกระทั่งปี พ.ศ.2538 โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ และอาคารโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2477 ได้กลายเป็นสถานที่พบปะของครูครูและศิษย์เก่า ต่อมาในปี พ.ศ.2545 อาคารเรียนหลังนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หลังจากนั้น มูลนิธิกุศลสงเคราะห์ จังหวัดภูเก็ต และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือและตกลง ที่จะปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ผังอาคารเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตรล้อมลาน กลางอาคารที่ตรงกับช่องเปิดโล่งในหลังคา หลังคาเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา ใต้หลังคามีกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กยื่นออกมาประมาณ 1 เมตร จุดเด่นของอาคาร คือ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของด้านหน้าอาคารประกอบด้วยบันไดทางขึ้นเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 5 ขั้น ความยาวบันไดยาวตลอดอาคาร เหนือบันไดเป็นซุ้มโค้งเตี้ยขนาดใหญ่ 3 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีเสากลมรับโค้ง หัวเสาตกแต่งลวดลายบัวสวยงาม เป็นแบบกึ่งระเบียบไอโอนิคและคอรินเธียน ผนังของอาคารเซาะร่องขนาดใหญ่ ระหว่างชั้นล่างและชั้นบนมีแนวคิ้วบัวปูนปั้นคั่นผนังเหนือคิ้วบัวและใต้คิ้วบัวติดป้ายชื่อโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษไทยและจีน  ชั้นบนเป็นซุ้มหน้าต่าง 3 ซุ้ม แต่ละซุ้มเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง กรอบหน้าต่างด้านบนเป็นจั่วแบบโรมัน บานหน้าต่างเป็นไม้และมีช่องแสงกระจกใสเหนือบานหน้าต่าง เหนือซุ้มช่วงกลางมีหน้าจั่วปูนปั้น มีรูปค้างคาว ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์มงคลของจีนอยู่บนยอดจั่ว

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญของเมือง โดยการปรับเปลี่ยนพื้นใช้สอยภายในอาคารเพื่อจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้ามายังเกาะภูเก็ตการก่อร่างสร้างตัว ประเพณีวิถีชน อาชีพ และภูมิปัญญา ประวัติของปูชนียบุคคลและโรงเรียนจีนที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการของเมืองภูเก็ตสืบมา ถือว่าเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวทั่วไปได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมของเมือง

 

Phuketthaihua Museum

Location 28 Krabi Road , Tambon Talat Neuar, Amphoe Mueang, Phuket Province

Architect / Designer Aiew Nga-eian

Proprietor Kusonsongkrau Organization, Phuket

Date of Construction 1934

Conservation Awarded 2008

History

The museum of Phuketthaihua was once a Chinese shrine, and Chinese language school called “Hua-Bun” founded in 1911 which later was renamed as “Jung Hua” in 1946 and became “Thai-Hua” in 1948. In 1995 the Thaihua Phuket school moved to new location. The building that was built in 1934 thenbecome a alumni association. In 2002 the building was registered as National Monument. In year 2008 Phuket foundation renovated the building and open as Thaihua Phuket Museum.

The museum is 2-storey building with rectangular plan and an open court in the middle. It has hip-gable roof and its most noticeable feature is the 5 steps staircase along the length of the building. On top of staircase, there are 3 arches with Ionic and Corinthian columns. Walls are grooved and decorated with corbel and name board in English, Thai and Chinese language. The second story situate 3 windows chamber, each has 2 open void and on top of window frame a roman like pediment. Window panels are wood alternated with glass. In the top-middle of each pediment is decorated with the stucco image of a bat.

The building of Phuketthaihua School has presently been Phuketthaihua Museum in order to reveal Phuket’s background , cultures and local traditions. Above all , another main aim is to cause Phuket’s people and foreigners to realize the significance of Phuket’s origin.

Thaihua Phuket Museum has shown their effort on their history and architectural heritage conservation by managing to exhibition the story of their local history, how the Chinese had moved here and settle down and the way they lived their life; their belief and intellectual knowledge together with many biographies of the important people of the old Chinese school as to educate visitors and local Phuket resident to their valuable history.