อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารโรงซ่อมรถโดยสารโรงงานมักกะสัน

อาคารโรงซ่อมรถโดยสารโรงงานมักกะสัน

ที่ตั้ง ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ วิศวกรชาวยุโรป

ผู้ครอบครอง การรถไฟแห่งประเทศไทย

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2465

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2549

ประวัติ

เมื่อกิจการรถไฟหลวงมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ย่านสถานีรถไฟหัวลำโพงไม่สามารถรองรับปริมาณการซ่อมบำรุงรถไฟ ที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นใน ปี พ.ศ.2450 กรมรถไฟหลวงจึงได้สร้างโรงงานซ่อมบำรุงแห่งใหม่ที่ตำบลทุ่งบางกระสัน (มักกะสัน) และเปิด ทำการในปี พ.ศ.2453 อาคารโรงงานที่สร้างขึ้นในระยะแรกนั้นเป็นอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2465 กรมรถไฟหลวงได้สร้างอาคารโรงซ่อมรถโดยสาร พร้อมปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัวขนาด 15 ตัน 2 เครื่อง เป็นอาคารที่สร้างได้มาตรฐานหลังแรกของโรงงาน หลังจากนั้นมีการสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น โรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำ ตึกที่ทำการต่างๆ และบ้านพักวิศวกรและสารวัตร เป็นต้น หลังปี พ.ศ. 2500 มีการย้ายการซ่อมรถโดยสารไปที่อาคารหลังอื่น อาคารโรงซ่อมรถโดยสารหลังนี้จึงได้รับการบูรณะ เปลี่ยนการใช้สอยอาคารเป็นคลังเก็บพัสดุและอุปกรณ์ และใช้เป็นโรงเก็บรถไฟพระที่นั่งจนถึงปัจจุบัน

อาคารโรงซ่อมรถโดยสารมีขนาดของอาคารกว้าง 32 เมตร ยาว 125 เมตร และสูง 20 เมตร ผังพื้นของอาคารแบ่งออกเป็น3 ส่วน คือ ส่วนโถงกลาง กว้าง 20 เมตร โครงสร้างเป็นระบบเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้เป็นพื้นที่ซ่อมรถโดยสาร มีการวางรางไปตามความยาวอาคาร 3 ราง ใต้รางขุดลึกลงไปเป็นคูคอนกรีตสำหรับช่างซ่อมใต้ท้องรถได้ ด้านบนใต้ระดับขื่อมีคานเหล็กเคลื่อนที่ (Crane) สำหรับยกรถโดยสารวิ่งไปมาตลอดความยาวอาคาร ส่วนริมสองข้างของโถงกลาง กว้างด้านละ 6 เมตร

มีรางซ่อมข้างละ 1 ราง ผนังด้านหน้าและด้านหลังของอาคารประกอบด้วยประตูโครงสร้างคานโค้งต่อเนื่อง 5 ช่วง ที่โถงกลาง 3 ช่วงและริมข้างละช่วง ส่วนบนของผนังโถงกลางแบ่งซอยออกเป็นคานโค้งต่อเนื่องขนาดเล็ก 6 ช่วงติดต่อกัน เป็นช่องแสงกรุกระจก หลังคาโครงเหล็กทรัสเป็นจั่วเปิดยอดยกขึ้นไปเป็นจั่วเล็กอีกชั้นหนึ่งเพื่อระบายลม ที่หน้าบันมีตัวเลขไทยระบุปีที่สร้าง 2465 และอักษรย่อ ร.ฟ.ผ. หรือกรมรถไฟแผ่นดิน (เป็นชื่อที่ใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2467) หลังคาริมสองข้างเป็นทรงเพิง ผนังด้านยาว ทั้งสองข้างเป็นผนังก่ออิฐเปิดผิว แต่ละช่วงเจาะช่องแสงกรุกระจกช่องละ 2 บาน ตลอดแนวอาคาร

อาคารโรงซ่อมรถโดยสารเป็นอาคารในโรงงานมักกะสันที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ สามารถรักษาโครงสร้างและ วัสดุดั้งเดิมเอาไว้ได้ ถือว่าเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า และเป็นตัวอย่างอาคารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างสร้าง เสา คาน พื้น และผนัง ที่ไม่มีการปิดบังและตกแต่งใดๆ ทั้งสิ้น

 

The Train Repair Plant, Makkasan Workshop

Location Nikhom Makkasan, Khwaeng Makkasan, Khet Ratchathewi, Bangkok

Architect / Designer an European engineer

Proprietor State Railway of Thailand

Date of Construction 1922

Conservation Awarded 2006

History

As the state railway business has been flourished, Bangkok Railway Station (Hualamphong Station) could no longer handle with the increasing amount of disrepair trains. In 1907; therefore, the Department of the Royal State Railways of Siam established a new repair plant at Tambon Thungbangkrasan (Makkasan), officially opened in 1910. It was initially a small building; then a factory containing two 15-ton electric overhead cranes including other buildings such as locomotive and boiler repairing plants, offices and residences for engineers and police inspectors have been added. After 1957, the repair plant was moved to another place. This building has subsequently been restored and converted to an equipment storage before becoming a warehouse of royal trains until present.

The plant is 32 x 125 x 20 metres in size, whose plan was divided into three parts. The central hall (20 metres in width) was structured with ferro concrete columns and beams. It serves as repairing area in which three rails were laid parallel to the building and a concrete pit was created underneath in order to make repairs under the carriages. Furthermore, there was a moving crane attached to the beams up above for conveying trains around the plant. Both sides of the central hall (6 metres in width) have one rail each. Front and rear walls consist of series of 5 arched doors while the upper part of central hall features series of 6 arched glass windows allowing sunlight to penetrate in. Its steel roof truss was also finished with mounted gable vent for better ventilation.

The Train Repair Plant is the most ancient building in Makkasan Workshop which is still in function. The maintenance of structure and materials engenders this invaluable architectural heritage remaining in complete genuine condition.